วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม
http://www.aseantalk.com/index.php?topic=33.0    (วันที่ค้นข้อมูล: 2 กรกฎาคม 2556)
 http://hilight.kapook.com/view/67028   (วันที่ค้นข้อมูล: 2 กรกฎาคม 2556)

http://www.jamjung.com/variety/asean10countries.html   (วันที่ค้นข้อมูล: 2 กรกฎาคม 2556)

ลาว



สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว



1.   ที่ตั้ง อาณาเขต
ทิศใต้และทิศตะวันตก   จด  ประเทศไทย ทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก (1,754 กิโลเมตร)
ทิศใต้ จด ประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
ทิศตะวันตก จดประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
2.    พื้นที่
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500   กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร
3.       ลักษณะภูมิประเทศ
แบ่งได้เป็น 3 เขต คือ
1.   เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
2.   เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ทราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
3.   เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขต ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
4.      ลักษณะภูมิอากาศ
ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ เขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (
5.      เมืองหลวง
นครหลวงเวียงจันทน์
6. ประชากร
ประเทศลาวมีประชากรรวม 6,068,117 คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า" สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ
7.  การเมือง/ การปกครอง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เริ่มมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ประธานประเทศ (ประธานาธิบดี)
8.  ภาษา
ประเทศลาวใช้ภาษาลาวเป็นภาษาทางราชการ ทั้งในส่วนของภาษาพูดและระบบการเขียน ส่วนในกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่าของตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นที่มีการใช้ได้แก่ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยังคงใช้ในวงราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง อีกภาษาหนึ่งที่สำคัญคือภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในการติดต่อกับต่างประเทศและการค้า ซึ่งนับวันการศึกษาภาษาอังกฤษก็ยิ่งจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับอัตราการรู้หนังสือของลาวนั้น ประชากรเพศชายรู้หนังสือร้อยละ 67 หญิงร้อยละ 43 เมื่อคิดเฉลี่ยรวมทั้งสองเพศแล้วปรากฏว่าประเทศลาวมีอัตราประชากรที่รู้หนังสือ ร้อยละ 56
9.  ศาสนา
ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์
10.  เศรษฐกิจ
ประเทศ ลาว  มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐ  เมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

ทรัพยากรสำคัญของลาว ได้แก่ ไม้ ดีบุก  ยิบซั่ม ตะกั่ว  หินเกลือ  เหล็ก  ถ่านหินลิกไนต์  สังกะสี  ทองคำ อัญมณี  หินอ่อน  น้ำมัน  และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า
11.  สกุลเงิน



กีบ  เป็นหน่วยเงินของประเทศลาว (มีอักษรย่อ LAK) หนึ่งกีบมี 100 อัด  ในปี พ.ศ. 2522 เกิดการปฏิรูปค่าเงินขึ้น โดยเปลี่ยน 100 กีบแบบเก่าให้เท่ากับ 1 กีบในปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 คือ 1 ยูโร เท่ากับ 13,636 กีบ และ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 10,500 กีบ ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นผู้รับผิดชอบพิมพ์เงินตราออกใช้



http://203.172.179.25/historysk1/his4/images/asean426.gif
http://203.172.179.25/historysk1/his4/images/asean427.gif

ไทย

ประเทศไทย (Thailand)

   ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
   ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชาทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซียทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่าและทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาวโดยมีแม่น้ำโขงกั้น
   พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
   เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
   ประชากร : 64.7 ล้านคน (2551)

   ภูมิอากาศ : เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน
   ภาษา : ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
   ศาสนา : ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
   สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)

ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
* พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej)

* นายกรัฐมนตรี คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (Mr.Abhisit Vejjajiva) (17 ธันวาคม พ.ศ.2551)

พม่า

พม่า (Myanmar)
 

   





   ชื่อทางการ : สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
   ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์
   - ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน
   - ทางตะวันออกติดกับลาว
   - ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย
    - ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย
   - ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
   พื้นที่ : 676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
   เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป
   ประชากร : ประมาณ 56 ล้านคน (พ.ศ.2548) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8 ) กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2) อินเดีย (ร้อยละ 2)

   ภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก
   ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
   ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05
   สกุลเงิน : จ๊าด (Kyat : MMK)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จ๊าดต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จ๊าดต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549)

   ระบอบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)
* ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ประมุขประเทศ) คือ พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) (เมษายน 2535)

* นายกรัฐมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) คือ พล.อ.เทียน เส่ง (Gen. Thein Sein) นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า (พ.ศ. 2550)

กัมพูชา

กัมพูชา



ธงชาติกัมพูชา
1.       ที่ตั้งอาณาเขต
กัมพูชามีพรมแดนติดต่อกับ 3 ประเทศ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวงอัตตะปือ และ จำปาสัก)
ทิศใต้ ติดอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดกับเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอานด่งท๊าบ อันซาง และเกียงชาง)
ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด)
2.    พื้นที่
กัมพูชามีขนาด กว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย
3.    ลักษณะภูมิประเทศ
กัมพูชามีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วย ที่ราบรอบทะเลสาบเขมรและที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ
4.   ลักษณะภูมิอากาศ
กัมพูชามีอากาศมรสุมเขตร้อนเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม โดยฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน  และฤดูแล้งระหว่างเดือนธันวาคม เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 36 องศาเซลเซียส โดยที่เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงที่สุด เดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด และเดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด

5.  เมืองหลวงและเมืองสำคัญ
เมืองหลวง ได้แก่ กรุงพนมเปญ เป็นศูนย์กลางแหล่งอุตสาหกรรมและพาณิชย์กรรมหลักของประเทศ
6.  ประชากร
ประชากร 14.7 ล้านคน (ปี 2551) ประกอบด้วย
- ชาวเขมร คิดเป็นร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมด
- ชาวญวน คิดเป็นร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมด
- ชาวจีน คิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด
- อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด เช่น ชาวไทย (ไทยเกาะกง) ชาวลาว ชาวจาม ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวเสตียง ชาวเมฺรญ และชาวเปือร์ เป็นต้น
7.  การเมืองการปกครอง
กัมพูชามีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  นับจากการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2536 การเมืองของกัมพูชามีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
8.  ภาษา
ภาษาเขมรเป็นภาษาทางการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน
9.  ศาสนา
รัฐธรรมนูญกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์ 1.7% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.3%
10. เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของกัมพูชาส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการเป็นหลัก หรือคิดเป็นร้อยละ 41 รองลงมา ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 30 และ ภาคการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 29 (ข้อมูลปี 2550)
11. สกุลเงิน
เรียล (Riel)  อัตราการแลกเปลี่ยน 125 เรียล (Riel) เท่ากับ 1 บาท (ธันวาคม 2552 )
        


มาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย
      


1.   ที่ตั้งอาณาเขต
ทิศเหนือ  ติดต่อกับประเทศไทย ในเขตรัฐห้ารัฐด้วยกัน เรียงจากตะวันตกไปตะวันออกคือ รัฐเปอร์ลิส รัฐเคดาห์ รัฐเปรัค และรัฐกลันตัน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ติดต่อกับทะเลซูลู ใกล้หมู่เกาะฟิลิปปินส์
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับทะเลจีนใต้
ทิศใต้ ติดต่อกับช่องแคบยะโฮร์ ซึ่งกั้นระหว่างประเทศมาเลเซียกับประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนิเซีย
ทิศตะวันตก  ติดต่อกับทะเลอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา ซึ่งกั้นระหว่างมาเลเซียกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย
2.   พื้นที่
ประเทศมาเลเซีย แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเรียกว่า มาเลเซียตะวันตก และส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียว เรียกว่า มาเลเซียตะวันออก ทั้งสองส่วนนี้ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ๑๓ รัฐ อยู่ในมาเลเซียตะวันตก ๑๑ รัฐ อยู่ในมาเลเซียตะวันออก ๒ รัฐ
3.    ลักษณะภูมิประเทศ
มาเลเซียตะวันตก  ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที 
มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล
4.    ลักษณะภูมิอากาศ
ประเทศมาเลเซียมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย  แต่เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้เส้นสูตรและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดีย และทะเลจีนใต้ จึงมีผลทำให้อุณภูมิไม่สูงนัก โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22-36 องศาเซนเซียส  มีฝนตกเกือบตลอดปี   และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประเทศไทย
5.    เมืองหลวง
กรุงกัวลาลัมเปอร์
6.    ประชากร
มาเลเซีย มีประชากรอยู่หนาแน่นบนแหลมมลายู บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันตก โดยมีประชากรประมาณร้อยละ ๘๒ รองลงมาคือ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียว มีประชากรอยู่หนาแน่น บริเวณที่ราบชายฝั่งทางตอนใต้ของรัฐซาราวัค แถบบริเวณแม่น้ำ
มาเลเซียมีหลายเชื้อชาติ และยังมีชนเผ่าน้อยในรัฐซาบาห์ และซาราวัค ทำให้เกิดเป็นชาติพันธุ์ลูกครึ่งเชื้อชาติต่างๆ เช่น  ชาวมาเลย์  อินเดีย จีน



7.    ศาสนา
ศาสนาประจำชาติมาเลเซียคือ ศาสนาอิสลาม ชาวมาเลย์ที่นับถือศาสนาอิสลาม มีประมาณร้อยละ ๕๓ นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ ๑๗  นับถือลัทธิเต๋า ประมาณร้อยละ ๑๒  นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณร้อยละ ๘ นับถือศาสนาฮินดู ประมาณร้อยละ ๘  และอื่น ๆ ประมาณร้อยละ ๒
8.     ภาษา
ชาวมาเลเซีย มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ  นอกจากนั้นยังมีภาษาอังกฤษ  ภาษาจีน ภาษาทมิฬ และภาษาประจำเผ่าของชนชาวเผ่าส่วนน้อยในประเทศ
9.    การเมืองการปกครอง
มาเลเซียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ การปกครองประเทศแบบสหพันธ์รัฐ (Federation) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ คือ เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรี เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค
10.     เศรษฐกิจ
1.  เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
2.  การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก แร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
3.  การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
4.  อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)
11.    สกุลเงิน
มาเลเซียมีหน่วยเงินตราเป็น ริงกิตมาเลเซีย โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 10.42 บาท ต่อ 1 ริงกิต