วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

1.     ที่ตั้งอาณาเขต
เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก
2.   พื้นที่
หมู่เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร  มีเกาะใหญ่ ๑๑ เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันเท่ากับร้อยละ ๙๐ ของพื้นที่  เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะลูซอน อยู่ทางเหนือ และเกาะมินดาเนา ที่อยู่ทางใต้
3.   ลักษณะภูมิประเทศ
ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยหมู่เกาะต่างๆ มีเกาะใหญ่น้อย     มากกว่า   7,000   เกาะใหญ่ที่สุดคือ  เกาะลูซอน    มีภูเขาไฟที่ยังครุกรุ่นหลายลูก        เป็นผลให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์
4.   ลักษณะภูมิอากาศ
ฟิลิปปินส์มีลักษณะภูมิประเทศ    เป็นหมู่เกาะ   ทำให้อุณหภูมิของประเทศ   ไม่สูงมากเหมือนอย่างประเทศไทยมีฝนตกชุกเกือบตลอดปี      ฟิลิปปินส์อยู่ในเขตใต้ฝุ่น     ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
5.   เมืองหลวง
กรุงมะลิลา
6.   ประชากร
ชาวเกาะฟิลิปปินส์ มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพวกมองโกล ผสมผสาน มีผิวสีน้ำตาล แต่บางพวกก็มีผิวค่อนข้างขาว



7.    การเมืองการปกครอง
ฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของสเปนและสหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับเอกราชในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489  จึงจัดการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ตามแบบสหรัฐอเมริกา
8.   ภาษา
ฟิลิปปินส์มีภาษาพูดมากกว่า ๑๐๐ ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่มีรากเง้ามาจากภาษามาเลย์ ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่ ภาษาตากาลอก (Tagalog) ซีบูโน (Cebuno) โอลอนโก (Ilongo) วาเรย์ - วาเรย์ (Waray - Waray) อิโลคาโน (Ilocano) ปามปันโก (Pampanco) และไบกอล (Bikol)
9.   ศาสนา
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอันดับ 4 ของโลก นิกายโปรเตสแตนต์อันดับ 13 ของโลก  ศาสนาอิสลามอันดับที่ 40 ของโลก  ศาสนาฮินดูอันดับที่ 7 ของโลก  และพระพุทธศาสนาอันดับที่ 17 ของโลก
10.   เศรษฐกิจ
1.    เกษตรกรรม   พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า
2.     ป่าไม้   มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี
3.     เหมืองแร่   ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน
4.    อุตสาหกรรม  ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ แปรรูปไม้

11.    สกุลเงิน
หน่วยที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนในรูปแบบของเงิน สกุลเงินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศหรือกลุ่มประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเงิน หรือการซื้อของหรือบริการ ระหว่างประเทศที่ใช้สกุลเงินต่างกัน จะใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง ในหลายๆ ประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้เช่น ดอลล่าร์สหรัฐ ดอลล่าร์ฮ่องกง และดอลล่าร์แคนาดา และในหลายประเทศใช้ สกุลเงินเดียวกัน เช่นในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินยูโร และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์เช่น ประเทศปานามา และ ประเทศเอลซาวาดอร์ ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์สหรัฐสกุลเงินทั่วไปจะมีหน่วยสกุลเงินย่อย โดยส่วนมากจะเป็นอัตราส่วน 1/100 ของสกุลเงินหลัก เช่น 100 สตางค์ = 1 บาท หรือ 100 เซนต์ = 1 ดอลล่าร์ แต่บางสกุลเงินจะไม่มีหน่วยย่อยเช่น สกุลเงินเยน ในหลายหลายประเทศเนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้สกุลเงินย่อยมีการเลิกใช้ไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น